เกสตัลท์ (Gestalt Theory)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยมของ
เกสตัลท์ (Gestalt Theory)




กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt  Psychology) แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม ผู้นำกลุ่มได้แก่ แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ (Max Wertheimer)และผู้ร่วมกลุ่มอีก 3 คน คือ เคอร์ท เลอวิน (Kurt Lewin) , เคอร์ท คอฟพ์กา (Kurt Koffka) และวอล์ฟแกง โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน
คำว่า เกสตัลท์ (Gestalt) เป็นภาษาเยอรมัน ความหมายเดิมแปลว่า แบบหรือรูปร่าง (Gestalt = form or Pattern) ต่อมาปัจจุบันแปลว่าส่วนรวมหรือส่วนประกอบทั้งหมด (Gestalt =The wholeness)
กลุ่มเกสตัลท์ มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกันเริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป

หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์
กลุ่มเกสตัลท์ เชื่อว่าการเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ

1. การรับรู้ (Perception) 
การรับรู้หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของ อวัยวะรับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง และการตีความนี้ มักอาศัย ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน อาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น
นางสาว ก. เห็นสีแดง แล้วนึกถึงเลือดแต่นางสาว ข. เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้
การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ที่เน้น การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย” นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้
1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of  Pregnant)
2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
4. กฎแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)

 1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz) ซึ่งกล่าวว่าเมื่อต้องการให้มนุษย์เกิดการรับรู้ ในสิ่งเดียวกัน ต้องกำหนดองค์ประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ
ก. ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้สนใจเพื่อเกิดการเรียนรู้ในขณะนั้น (Figure)
ข. ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการรับรู้ (Background or Ground) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ประกอบอยู่ในการเรียนรู้นั้นๆ แต่ผู้สอนยังมิต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้น ปรากฏว่า วิธีการแก้ปัญหา โดยกำหนด Figure และ Background  ของเกสตัลท์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  เพราะสามารถทำ ให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ด้วยการรับรู้อย่างเดียวกันได้ ซึ่งนักศึกษาจะได้ ทราบรายละเอียดในเรื่องทฤษฎีการเรียน รู้ของกลุ่มเกสตัลท์ในโอกาสต่อไป แต่ในที่นี้ขอเสนอพอสังเขป ดังนี้
บางครั้ง Figure อาจเปลี่ยนเป็น Ground และ  Ground อาจเปลี่ยนเป็น Figure ก็ได้ ถ้าผู้สอนหรือผู้นำเสนอ เปลี่ยนสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมายเบนความสนใจไปตามที่ตนต้องการ โปรดดูภาพต่อไปนี้




ดูภาพข้างบนนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็น นางฟ้า”  หรือว่า ปีศาจ” ถ้ามองสีดำเป็นภาพสีขาวเป็นพื้นจะเห็นเป็นรูปอะไร แต่ถ้ามองสีสีขาวเป็นภาพสีดำเป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร ลองพิจารณาดู




ดูภาพข้างบนนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นรูปพานหรือว่าเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน ถ้าดูสีขาวเป็นภาพ สีดำเป็นพื้นก็จะเป็นรูปพาน ถ้าดูสีดำเป็นภาพ สีขาวเป็นพื้น ก็อาจจะเห็นเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน

2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)  กฎนี้เป็นกฎที่ Max Wertheimer ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1923 โดยใช้เป็นหลักการในการวางรูปกลุ่มของการรับรู้ เช่น กลุ่มของ เส้น หรือสี ที่คล้ายคลึงกัน หมายถึงสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่คล้ายกัน คนเราจะรับรู้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน หรือพวกเดียวกัน
 3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) สาระสำคัญของกฎนี้ มีอยู่ว่า ถ้าสิ่งใด หรือสถานการณ์ใดที่เกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องกัน หรือในเวลาเดียวกัน อินทรีย์จะเรียนรู้ ว่า เป็นเหตุและผลกัน หรือ สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน หมวดหมู่เดียวกัน
4. กฎแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure) สาระสำคัญของกฎนี้มีอยู่ว่า แม้ว่าสถานการณ์หรือปัญหายังไม่สมบูรณ์ อินทรีย์ก็จะเกิดการเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์เดิมต่อสถานการณ์นั้น
                 
2. การหยั่งเห็น
เรื่องของการหยั่งเห็นนี้ วอล์ฟแกง โคห์เลอร์ ได้ทำการทดลองอยู่หลายการทดลอง แต่ขอยกตัวอย่างพอสรุปสั้น ๆ สักการทดลองหนึ่ง คือ เขาได้นำลิงตัวหนึ่ง ชื่อ สุลต่าน มาอดอาหารจนหิวจัด แล้วนำไปขังไว้ ในกรง แขวนกล้วยหวีหนึ่งไว้ในที่สูงในกรง ในระดับที่ลิง ไม่สามารถเอื้อมถึง แล้ว นำกล่องไม้ 3 กล่อง ไว้ในกรงด้วย กะว่าเมื่อนำกล่องไม้ 3 กล่อง มาตั้ง ต่อๆ กัน ลิงก็สามารถหยิบกล้วยได้



ผลการทดลองปรากฏว่า 
เมื่อลิงหิวจัด ก็หาวิธีที่จะหยิบกล้วยให้ได้ ในที่สุด ลิงก็มองเห็นกล่องไม้ ได้กล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่า โคห์เลอร์ ได้เน้นว่า  การเรียนรู้เกิดจากการหยั่งเห็น (Insight) โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ที่คล้ายคลึงกันมาแก้ปัญหาใหม่ที่ประสบ 

การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้
1.  ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
2. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน
3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
4.  คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน
5.  บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น