จอห์น บี วัตสัน (John B.Watson)

ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
จอห์น บี วัตสัน (John B.Watson




วัตสัน (John B.Watson) เป็น นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟ มาเป็นหลักในการอธิบายผลงานของวัตสัน ได้รับความนิยมจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม”  เป็นผู้นำกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว(neutral-passive) การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้หรือวัดได้
แนวคิด  
วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
วิธีการทดลอง  
เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็ก ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อ หนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
                                                           แผนผังการทดลอง
เสียงดัง  (UCS)                   --------------             กลัว (UCR)
หนูขาว  (neutral)                --------------                ไม่กลัว
หนู  +  เสียงดัง                     --------------             กลัว  (CR)
หนูขาว    (CS)                      --------------                กลัว  (CR)


 การวางเงื่อนไขกลับ(Counter Conditioning)
วัตสันคิดหาวิธีที่จะลบความกลัวนั้นให้หายไป แต่เขาก็ไม่สามารถทำการทดลองกับอัลเบรอร์ตต่อไปได้เนื่องจากอัลเบรอร์ตได้มีผู้รับไปอุปการะในอีกเมืองหนึ่งเสียก่อน วัตสันจึงได้เสนอให้โจนส์ ทำการทดลองเพื่อลบความกลัวของเด็กอายุ 3 ปี ผู้หนึ่งชื่อ ปีเตอร์
            ปีเตอร์เป็นเด็กที่มีสุขภาพดี แต่เป็นเด็กขี้กลัวมาก เขากลัวทั้งขนสัตว์และสิ่งของหลายชนิด เช่น หนูขาว กระต่าย เสื้อขนสัตว์ ขนนก สำลี กบ ปลา เป็นต้น วัตสันเปรียบปีเตอร์เหมือนเป็นอัลเบรอร์ตตอนโตขึ้นแล้ว
            โจนส์ได้พยายามลบความกลัวกระต่ายของปีเตอร์หลายๆวิธี เช่น ให้ปีเตอร์ดูเด็กอื่นเล่นกระต่าย หรือให้ปีเตอร์เห็นกระต่ายบ่อยๆ แต่ก็ไม่เป็นผล วิธีที่โจนส์ให้ความสนใจและพบว่าได้ผลมากก็คือ  การวางเงื่นไขกลับ (Counter Conditioning) การวางเงื่อนไขกลับนี้ เป็นการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขใหม่ ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า เพื่อให้เกิดการตอบสนอง ที่ตรงข้ามกับการตอบสนองเดิม
วิธีการทดลอง
โจนส์จะนำกรงกระต่ายไปวางไว้ห่างๆในขณะที่ปีเตอร์กำลังรับประทานขนมอย่างเอร็ดอร่อยในช่วงบ่าย ปีเตอร์ไม่กลัวเพราะกระต่ายอยู่ไกลและกำลังเพลิดเพลินกับการกินขนม โจนส์ทำการทดลองเช่นนี้ทุกวัน แต่จะค่อยๆ เลื่อนกระต่ายเข้ามาใกล้ปีเตอร์วันละนิด เมื่อสิ้นสุดการทดลอง โจนส์ก็พบว่า ปีเตอร์ใช้มือข้างหนึ่งเล่นกับกระต่าย ในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งกินขนม จึงแสดงว่า ไม่เพียงแต่เข้าจะหายกลัวกระต่ายเท่านั้น แต่เขายังรู้สึกชอบเล่นกับกระต่ายอีกด้วย



จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
      1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
      2)เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
      1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล  ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์มีการตอบสนองไม่เท่ากัน การจัดการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
      2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนได้
      3. การล้างพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขในแง่ลบ เช่น  การที่นักเรียนกลัวครู  ครูอาจเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่
      4. สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของเด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนองในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น